28 มีนาคม 2024
คุยกับ “ธนากร พรหมยศ” ผู้สร้างความ “แฮปปี้” ให้วัยเก๋า

Work life balance กรุงเทพธุรกิจ คุยกับ “ธนากร พรหมยศ” ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอ บริษัท ยังแฮปปี้ จำกัด หรือ “Young Happy” ที่สร้าง “ธุรกิจเพื่อสังคม” รับสังคมสูงวัย สร้างคอมมูนิตี้ให้ “วัยเก๋า” ด้วยสโลแกน “สนุก มีคุณค่า พึ่งพาตนเองได้”

ออกแบบ แม้เศรษฐกิจในปัจจุบันจะทำให้การทำธุรกิจเป็นสิ่งที่ยาก แต่ 5 ปีที่ผ่านมาของ “ยังแฮปปี้” (Young Happy) ในฐานะธุรกิจเพื่อสังคม ที่จับประเด็นเรื่องผู้สูงอายุโดยเริ่มจากการสอนกลุ่มสูงวัยให้มีความรอบรู้ และเท่าทันอินเทอร์เน็ต ก็สามารถเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 และปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 40,000 คนทั่วประเทศ จุดเริ่มต้นการทำธุรกิจเพื่อสังคม ของ “ธนากร พรหมยศ” ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอ บริษัท ยังแฮปปี้ จำกัด หรือ Young Happy ในวัย 34 ปี ที่บอกกับเราว่า “แต่ก่อนมีความฝันว่าอยากจะรวย เพื่อก่อตั้งมูลนิธิ เพราะตอนนั้นรู้สึกว่าเป็นคนรวย จะสามารถตั้งมูลนิธิ ช่วยเหลือโลกและสามารถทำเพื่อคนอื่นได้ ในปี 2549 เป็นช่วงที่สนามบินสุวรรณภูมิกำลังจะเปิด กระแสอุตสาหกรรมการบินกำลังโต บวกกับความฝันว่าอยากเดินทางท่องเที่ยว จึงอยากจะเป็นนักบิน และเลือกเรียนทางด้าน วิศวกรรมการบินและอวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ แต่จากการได้มีโอกาสทำกิจกรรมเพื่อสังคมสั่งสมมาตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษา อีกทั้ง คุณแม่ที่เกษียณออกมาทำงานภาคสังคม ทำให้หลังเรียนจบจึงเบนเข็มในการทำธุรกิจเล็กๆ จนกระทั่งได้รู้จักกับ “ธุรกิจเพื่อสังคม” ทั้งนี้ หากถามถึงหัวใจของการบริหารธุรกิจเพื่อสังคม คีย์หลัก คือ ตอบโจทย์ปัญหาสังคมได้ สิ่งที่ต้องทำ คือ พยายามวัดผลลัพธ์ออกมาให้ชัดเจน ซึ่งยังแฮปปี้ ก็พยายามพัฒนา Young Happy Index จะล้อไปกับ Active Aging Index ของ WHO นี่คือจุดสำคัญ ว่าสิ่งที่เราแก้อยู่ แก้เรื่องอะไร และผลลัพธ์เป็นอย่างไรที่จับต้องได้เป็นรูปธรรม และอีกส่วนหนึ่ง คือ ความชัดเจนของ Mission องค์กร เพราะระหว่างทางที่ทำก็ต้องมีหลายส่วนมากระทบ ลำพังธุรกิจทั่วไปก็ยากอยู่แล้วในยุคนี้ ธุรกิจเพื่อสังคมก็ยิ่งยากขึ้นไปอีกเพราะต้องตอบโจทย์ทั้งสองส่วน เพราะฉะนั้น ความชัดเจนของ Mission จะเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เรายังอยู่ในเส้นทางที่เราจะเดินไป สำหรับพนักงานเป็นสิ่งสำคัญ เป้าหมายขององค์กรคือเป็นองค์กรที่ทำดีและอยู่ดีได้ ทำให้หลายคนเลือกมาทำงานกับเรา พนักงานที่เข้ามาร่วมงานต้องเห็นผลลัพธ์ ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกที่ได้จากผู้สูงอายุ คำขอบคุณ มันคือความรู้สึกที่ทีมงานได้รู้สึกว่าเขามีประโยชน์กับคนอื่น ต้องคอยสะท้อนผลกระทบเชิงบวก เล่าฟีดแบคให้เขาได้รับรู้อยู่เสมอ

คุยกับ “ธนากร พรหมยศ” ผู้สร้างความ “แฮปปี้” ให้วัยเก๋า

“หากถามว่าวันนี้เราประสบความสำเร็จหรือยัง มองว่า ประสบความสำเร็จที่ได้ลงมือทำแล้วขั้นหนึ่ง แต่หากคำว่าประสบความสำเร็จที่หมายถึงการอยู่ได้อย่างยั่งยืน Passion ของเราคือ อยากทำให้องค์กรอยู่จนถึงวันหนึ่งที่ผมได้ใช้หรือน้องๆ ได้ใช้เอง ถ้าอีก 30 ปีข้างหน้ายังมีองค์กรนี้อยู่ น่าจะเป็นความสำเร็จที่เรามองเห็น”

แม้ทุกวันนี้จะต้องทำงานแทบจะทุกวันเพราะเป็นช่วงที่ธุรกิจกำลังขยาย แต่หากถามในเรื่องของจิตใจ ธนากร บอกว่า “เติมเต็ม” เพราะกำลังเห็นในช่วงที่กำลัง Scale up มีความท้าทายหลายอย่างที่เราจะต้องเจอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเงิน ทีม ลูกค้า ถือเป็นความท้าทายที่เจออยู่ แต่ก็พยายามจะพัก พยายามจะทำให้วันหยุดชัดเจนมากขึ้น วันหยุดคือหยุดจริงๆ ลดการทำงาน และเรื่องของ รูปแบบการทำงานแบบ Flexible Hour ความยืดหยุ่น มาตอบโจทย์น้องๆ ที่ทำงานในองค์กรเพื่อสังคม บางคนอาจจะเข้างานสายหน่อย 10 โมง คิดว่านี่จะช่วยเรื่อง Work life balance ของคนทำงานได้ส่วนหนึ่งการทำงานตรงนี้ได้เห็นว่าบางคนอายุ 80 ปี แต่ยังแข็งแรง ในขณะที่บางคน 60 ปี ทำไมดูไม่แข็งแรงแล้ว ทำให้ผมกลับมาย้อนถามตัวเองเหมือนกันว่า ข่าวออกแบบ ถ้าเราโชคดี ได้เกษียณเราจะเป็นคนแบบไหน เกษียณในยุคหน้าอาจจะเปลี่ยนรูปแบบไปไม่เหมือนสมัยก่อน บางคนอาจจะเกษียณอายุ 40 ปี และกลับมาทำงานใหม่ และเกษียณใหม่อีกรอบก็ได“แต่หากวันนี้ถามว่าอยากจะแก่แล้วเป็นยังไง ถ้าผมโชคดีก็อยากจะโตไปเป็นคนที่ใจดี อารมณ์ดี สุขภาพดี และมีประโยชน์ต่อคนอื่น ผมอยากจะแก่ไปเป็นคนแบบนั้น” ธนากร กล่าวทิ้งท้าย